การถ่ายรูปปลา

ถ้าท่านมีความรู้และฝีมือในการถ่ายรูปอยู่ด้วย การเลี้ยงปลาตู้จะเบิกความสนใจในด้านนี้ให้ท่านยิ่งเพลิดเพลินขึ้นอีกมาก

มีกล้องถ่ายรูปโดยใช้ฟิล์มสีดีๆ สักกล้องหนึ่ง พร้อมด้วยระบบแฟลชไลท์ด้วยอิเลคตรอนิก การถ่ายภาพปลาสีสันงามๆที่ท่านชอบใจจะทำได้โดยไม่ยากเลย

ท่านอาจบันทึกภาพตอนผสมพันธ์ปลาตู้ของท่านได้ตลอดตั้งแต่ต้นจนปลายก็ได้ ถ้าใช้กล้องเลนส์สะท้อนเดี่ยวขนาดใหญ่หรือเมื่อท่านได้พบปลาพันธ์แปลกเข้าที่ไหน ก็ถ่ายไว้ประดับความรู้และสืบเบาะแส ของปลาชนิดนั้นได้อย่างเพลิดเพลินยิ่ง

ในสมัยที่เครื่องถ่ายภาพวีดีโอก็สามารถใช้ในบ้านได้ ท่านจะใช้เครื่องวีดีโอถ่ายภาพปลาในตู้ของท่าน หรือของเพื่อนบ้านไว้ฉายดูเล่น ก็ดีเหมือนกัน

การประกวดปลาตู้

การประกวดปลาตู้ที่เป็นงานใหญ่ทำกันเป็นประจำในสามประเทศคือ สหรัฐ คานาดาและอังกฤษ มีการแสดงปลาเหมือนอย่างการประกวดสัตว์เลี้ยงทั่วๆไป โดยทั่วๆ ไปเขาจะแบ่งปลาออกเป็นพวกๆ ตามตระกูลปลา มีตระกูลไซปรินิด,คาราซิน,ชิคลิด,ตระกูลปลากด,ตระกูลปลากระดี่,ตระกูลปลาออกลูกเป็นตัว เหล่านี้เป็นต้น การแสดงนั้นอาจแสดงเดี่ยวเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มตระกูล โดยให้อยู่ในตู้เปล่าที่ปราศจากสิ่งตบแต่ง การให้คะแนนปลาจะให้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ตามปกติ เขากำหนดไว้ 5ประการ มีขนาด,ลักษณะครีบ,สีสัน,ลำตัวและการเคลื่อนไหว ประการละ 20 คะแนน ปลาบางตัวอาจได้คะแนนเต็ม 100 ก็ได้ ถ้าเข้าหลักเกณฑ์บริบูรณ์ตามที่เขากำหนดในการประกวดของสโมสรต่างๆ เกณฑ์ที่กำหนดอาจแตกต่างไปบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็ถือเอา 5 ประการดังกล่าวเป็นสำคัญ

ปลาที่เข้าประกวดแต่ละคราวอาจมีจำนวนถึง 500 ตัว มีกรรมการตัดสินอย่างน้อย 5 คนโดยให้คะแนนแก่ปลาแต่ละตัวที่เข้าประกวด แล้วนำคะแนนมาเปรียบเทียบกัน การตัดสินอาจรู้ผลได้ในสองชั่วโมงเท่านั้น แม้ว่าอาจมีปลาเข้าประกวดถึง 500 ตัว ก็ตาม นอกจากประกวดตัวปลาแล้ว ยังมีการประกวดตู้เลี้ยง ดูลักษณะการตบแต่งตู้ และประกวดผสมพันธ์ปลาเป็นต้น ในการประกวดการผสมพันธ์ปลา ผู้ส่งปลาที่ผสมเข้าประกวดจะนำปลาของตนไว้ในตู้ที่สี่หรือหกตัวที่เป็นชนิดเดียวกันคัดเอาแต่ตัวที่ดีที่สุด ให้กรรมการตัดสินว่าของใครจะผสมได้ดีกว่ากัน

งานแสดงปลาตู้ในยุโรปอาจมีลักษณะแตกต่างไปกว่านี้ คือแทนที่จะมีการประกวดปลา เขาเพียงแต่เอาปลามาแสดงโดยเน้นหนักไปในการแลกเปลี่ยนความรู้ มีการแสดงปาฐกถาเรื่องปลา และจัดการประชุมสัมมนาตามหัวข้อที่กำหนดเป็นคราวๆส่วนการประกวดปลานั้นก็ทำกันเหมือนกัน แต่มักเป็นการประกวดทั้งตู้เลี้ยง ซึ่งคณะกรรมการจะไปดูตามบ้านที่สมัครเข้าประกวด

การจัดงานประกวดและงานแสดงปลาตู้นี้นับว่าเป็นเครื่องกระตุ้นความสนใจในการเลี้ยงและผสมพันธ์ปลาตู้อย่างจริงจังแม้ว่านักเลี้ยงปลาตู้บางคนจะไม่ชอบการประกวดเลยก็ตาม แต่การแสดงปลาตู้ก็ช่วยให้มีปลาพันธ์ใหม่ๆเกิดขึ้น โดยผู้สนใจเที่ยวหามาเลี้ยง หรือมิฉะนั้นก็ผสมพันธ์ได้ ทำให้มีการขวนขวายหาความรู้ในการเลี้ยงปลาตู้ที่ได้ผลอย่างกว้างขวาง

ขยายประโยชน์ไพศาล

ในชั้นต้นท่านอาจเลี้ยงปลาตู้ไว้เพียงเพื่อชมเล่น ให้เกิดความสบายตาสบายใจเท่านั้น เมื่อท่านได้ดำเนินการตามหลักวิชาดังจาระไนมาแต่ต้นแล้ว ท่านคงจะรู้สึกว่า การเลี้ยงปลาตู้เป็นงานอดิเรกที่ให้ความเพลิดเพลินยิ่งกว่าที่คิดไว้แต่ต้นก็ได้ แท้จริงการเลี้ยงปลาตู้ตามหลักวิชายังอำนวยคุณประโยชน์ให้แก่ท่านนอกเหนือไปกว่านั้นอีก

คิดดูเพียงเท่าที่มองเห็นง่ายๆ การเลี้ยงปลาตู้ตามหลักวิชาทำให้เราต้องศึกษาพิจารณาเหตุผลไปด้วยในตัว ว่าทำอย่างไรจึงจะเหมาะจะดี และเมื่อศึกษาพิจารณาไปเราจะได้ความรู้ในเรื่องปลายิ่งขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมาถึงขั้นที่ผสมพันธ์ได้ เมื่อได้พันธ์ดีๆสีแปลกๆ เราก็จะรู้สึกภาคภูมิใจ และ ในที่สุดงานอดิเรกของท่านอาจกลายเป็นเงินเป็นทองขึ้นมาก็ได้ ใครจะรู้ ?

อย่างน้อยงานอดิเรกชนิดนี้ก็น่าจะเพิ่มพูนผลประโยชน์แก่ท่านได้ในทางสังคม ทำให้ท่านได้เพื่อนดีๆเพิ่มขึ้น เพราะผู้ที่มีงานอดิเรกชนิดเดียวกันย่อมประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนความคิดความเห็นกัน ทำให้วงสังคมของผู้สนใจงานอดิเรกชนิดเดียวกันขยายกว้างไกลออกไปเรื่อยๆ จริงอยู่ในเวลานี้เรายังไม่มีสมาคมผู้เลี้ยงปลาตู้เหมือนในต่างประเทศ แต่การที่มีผู้นิยมเลี้ยงปลาตู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆคงจะชักนำให้เกิดการก่อตั้งสมาคมขึ้นได้สักวันหนึ่งเป็นแน่

การเลี้ยงปลาตู้ได้เริ่มขึ้นในประเทศทางตะวันออกก่อนเพื่อนบัดนี้ได้เป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วโลกแล้วทั้งในทั้งในยุโรปและอเมริกาเฉพาะในสหรัฐประเทศเดียวประมาณกันว่ามีบ้านที่เลี้ยงปลาตู้หรือมีแอ่งน้ำเลี้ยงปลาประเภทสวยงามหนึ่งบ้านในทุกๆสิบบ้านทีเดียว นานาประเทศทั้งในยุโรปและอเมริกาต่างก็มีสมาคมผู้เลี้ยงปลาตู้ ที่สมาชิกอาจแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้และ ความคิดเห็นซึ่งกันและกันได้โดยสะดวก เพื่อความสนใจของท่านที่อาจประสงค์จะติดต่อด้วย จะขอนำชื่อสมาคมในประเทศเหล่านี้มาระบุไว้ในที่นี้สัก 2-3 ประเทศ

สมาคมที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอมริกา คือ Federation of American Aquarium Societies (F.A.A.S.)

คานาดามี Cannadian Association of Aquarium Clubs (C.A.A.C.)

อังกฤษมี Federation of British Aquatic Societies (F.B.A.S.)

ในยุโรปมีองค์การส่งเสริมการเลี้ยงปลาตู้ของเอกชนอยู่ในหลายประเทศ ตามชื่อในประเทศนั้นๆ คือ :

เยอรมนี – Verband Deutscher ver Aquarien (V.D.A.)

ฝรั่งเศส – Federation Francais des Associations Aquaphile et Terrariophile (F.F.A.A.T.)

เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) – Netherlands Bond Aquaria et Terraria (N.B.A.T.)

เดนมาร์ก – Dansk Akvarie (D.K.A.)

นอรเว – Norsk Akvarieforbund (N.A.F.)

โปแลนด์ – Polski Zwiaseke Akvarystow (P.Z.A.)

องค์การเหล่านี้ทั้งหมดเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศเรียกว่า Aqruarium Terrarium Internationnal (A.T.I.)ในสหรัฐอเมริกา

ถ้าท่านประสงค์จะติดต่อกับองค์การสมาคมของแต่ละประเทศ ท่านเพียงแต่ลงชื่อสมาคมและประเทศที่ตั้งสมาคมเท่านั้นหนังสือติดต่อของท่านก็จะถึงสมาคม เพราะที่ทำการไปรษณีย์ในประเทศนั้นๆ รู้จักดี

สมาคมระดับชาติเหล่านี้วางกฎเกณฑ์ไว้ให้สมาคมระดับท้องถิ่นถือปฏิบัติในการเปิดการแสดงปลาในลักษณะประกวดซึ่งกระทำกันเป็นการประจำปี นอกจากนี้ยังออกนิตยสารตีพิมพ์ไปเผยแพร่ข่าวสารอันมีประโยชน์ และให้ความรู้ในเรื่องราวเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาตู้อันมีคุณค่ายิ่งอีกด้วย

ภาวะแวดล้อมตู้ปลา

ภาวะแวดล้อมตู้ที่ใช้เลี้ยงลูกปลาก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงและปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม

มีปลาบางชนิด โดยเฉพาะปลาตระกูลกระดี่ และปลากัดไม่ชอบลมเย็น ลูกปลาจำพวกนี้จึงไม่ถูกกับลมเย็น ที่อาจเข้าไปในตู้ได้ทางฝาครอบ ดังนั้นจึงควรใช้ผ้าบุช่องฝาครอบเสีย เพื่อบรรเทาอันตรายจากลมเย็นที่อาจเล็ดลอดเข้าไปได้ให้น้อยลง

ลูกปลาต้องกินอาหารอยู่เรื่อยๆเพื่อกระตุ้นความเอาใจใส่ของมันควรเปิดไฟเหนือตู้ทิ้งไว้อ่อนๆเสมอ ถ้าดับไฟให้ตู้มืดมันจะพักเสีย

เมื่อลูกปลาเจริญโตขึ้น ให้เปลี่ยนน้ำในตู้โดยถ่ายน้ำเก่าออกเสียบ้าง ปล่อยอากาศเข้าให้เกิดพรายน้ำถี่ขึ้น และปรับระบบกรองน้ำให้รัดกุมยิ่งขึ้น

ปฏิบัติการเหล่านี้ทำให้น้ำเคลื่อนไหว ซึ่งให้ผลดีแก่ความเจริญเติบโตของลูกปลา ในระหว่างลูกปลาเจริญขึ้นให้สีสันและรูปพรรณทำนองเดียวกับปลาพ่อแม่พันธุ์ เราควรสนใจดูลักษณะของมัน ถ้าลักษณะของมันไม่เหมือนพ่อแม่พันธุ์ เช่น มีสีจางไป มีครีบและหางไม่เจริญสมบูรณ์ เราควรคัดปลาพวกนี้ออกเสีย ไม่ควรเลี้ยงไว้อีกต่อไป เพราะถ้าเลี้ยงให้โตเต็มที่ถึงเวลาผสมพันธุ์ก็จะทำให้พันธุ์เสื่อมลง ไม่ได้ปลาที่มีคุณภาพดี การคัดปลาพวกนี้ออกจะทำให้เหลือแต่ปลาที่มีคุณภาพ ดังนั้นจึงไม่ควรเสียดายปลาที่หย่อนคุณภาพเป็นอันขาด ถ้ามีลูกปลาจำพวกนี้ปะปนอยู่ ควรคัดออกไปเสีย อย่าเลี้ยง

การดูแลลูกปลา

ลูกปลาพอเริ่มว่ายน้ำได้ก็ต้องการอาหารทีเดียว แต่ทั้งนี้พึงจำไว้ว่าลูกปลาพึงจำไว้ว่าลูกปลาที่เป็นตัวขึ้นจากไข่ เมื่อยังไม่ว่ายน้ำย่อมได้รับอาหารพออยู่แล้วจากถุงไข่ที่ติดอยู่ ดังนั้นจึงไม่บังควรให้อาหารในตอนนั้น ต่อมาเริ่มว่ายน้ำได้แล้วมันจึงจะกินอาหารเป็น การให้อาหารลูกปลาที่ยังกินไม่เป็นนอกจากจะเป็นเปล่าประโยชน์แล้ว ยังจะเป็นโทษเสียอีก เพราะอาหารจะทำให้ตู้ปลาสกปรกและเกิดมลพิษแก่น้ำ ถ้าเรายังไม่ได้ช้อนเอาลูกปลาไว้ในตู้ใหญ่รวมกับปลาอื่นๆ

อันที่จริงลูกปลานั้นจะต้องเลี้ยงต่างหากก่อนจนกว่าจะตัวโตพอสมควรแล้วจึงเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆได้ ถ้ามิฉะนั้นลูกปลาอาจกลายเป็นเหยื่อของปลาใหญ่ก็ได้

การให้อาหารแก่ลูกปลาในระยะแรกควรจะให้เท่าใดขึ้นยู่กับขนาดของลูกปลา ลูกปลาแต่ละชนิดมีขนาดไม่เท่ากัน จึงควรให้อาหารตามสมควรแก่ขนาดโดยให้แต่น้อยก่อน ถ้าไม่พอมันกินจึงค่อยเพิ่ม โดยทั่วๆ ไปลูกปลาที่เกิดจากไข่เรี่ยราดและลูกปลาชนิดที่ต้องอาศัยหวอดต้องการอาหารน้อยกว่าลูกปลาชนิดที่ต้องอาศัยหวอดต้องการอาหารน้อยกว่าลูกปลาจำพวกชิคลิดและลูกปลาที่ออกลูกเป็นตัวเสมอ

อาหารลูกปลาในระยะแรกมีทั้งชนิดเป็นผงละเอียด เป็นน้ำหรือแป้งเปียก ซึ่งเขาทำไว้สำหรับลูกปลาทั้งชนิดออกไข่และออกลูกเป็นตัวให้เลือกได้

อาหารชนิดหนึ่งเรียกว่า น้ำเขียว (Green water) เป็นน้ำเลี้ยงตัวโปรโตซัวซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเซลเดียวที่เล็กที่สุด ตัวไรน้ำและหนอนชนิดเล็กจิ๋วเรียกว่า grindal worm ก็เหมาะสำหรับปลาที่ยังอ่อนที่สุด ถ้าลูกปลามีขนาดเขื่องขึ้นพอจะให้กินกั้งฝอยได้ กั้งฝอยจะเป็นอาหารบำรุงลูกปลาอย่างวิเศษ ต่อไปก็ให้อาหารจำพวกหนอนขาว ตัวลูกน้ำ และอาหารป่นตามขนาดของความเติบโต

ข้อควรจำที่สำคัญมีอยู่ว่า อย่าให้อาหารแก่ลูกปลาจนเหลือกินกลายเป็นสิ่งตกค้าง ซึ่งจะทำให้น้ำเสีย ให้ทีละน้อยๆแต่บ่อยๆเป็นดีที่สุด

ภายหลังการผสมพันธุ์

เมื่อปลาผสมพันธุ์กันแล้วก็จะต้องถึงตอนออกลูก ตอนนี้ควรอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะปลาตัวผู้บางพวกพวกบางตัวยังคึกอยู่ แม่ตัวเมียตกลูกแล้วก็ยังชอบไล่ติดตัวเมีย ในกรณีเช่นนี้ถ้าเราคอยระวังอยู่ก็อาจช่วยตัวเมียมิให้ชอกช้ำได้ สำหรับปลาที่ออกไข่เรี่ยราด เราควรเอาพ่อและแม่ปลาออกจากอ่างเสียเลยเมื่อออกไข่แล้ว เพื่อป้องกันมิให้มันกินไข่ของมันเอง เนื่องจากเป็นธรรมชาตินิสัยของปลาจำพวกนี้

แม้แต่ปลาในตระกูลชิคริคซึ่งออกจะพิถีพิถันในการเลือกที่ออกไข่อย่างน่าดูน่าสังเกต เพราะมีนิสัยหวงแหนและรักไข่ของมันมาก ทั้งๆที่รู้กันว่า มันเป็นพ่อแม่ที่ดี บางทีเมื่อออกไข่แล้วมันอาจเพิกเฉยละเลยต่อการกกไข่ หรืออาจกินไข่เสียเลยก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ควรเอาปลาพ่อหรือแม่ตัวใดตัวหนึ่งออกไปเสีย ปล่อยให้อีกตัวหนึ่งทำหน้าที่กกไข่ตามลำพัง หรือมิฉะนั้นก็เอาพ่อแม่ออกไปเสียทั้งสองตัว ให้ท่านทำหน้าที่กกไข่แทน โดยเอาเครื่องปล่อยอากาศไว้ใกล้ไข่ให้น้ำกระเพื่อมเหมือนอย่างปลาใช้ครีบโบกฉะนั้น

ปลาบางชนิดชอบออกไข่หมกไว้ตามพุ่มต้นไม้น้ำ หรือตามซอกขอนไม้ที่พื้นตู้ หรือมิฉะนั้นก็ฝังไข่ไว้ในกรวดทีเดียว ในกรณีเช่นนี้ควรเอาไข่มารวมกันไว้เสีย โดยจะเอาไว้ในน้ำตื้น เพื่อสะดวกแก่การฟักตัวก็ได้ หรือเอาไข่ขึ้นซุกไว้ที่ขอนไม้ที่ค่อนข้างแห้งเสียสัก ๒๓ เดือนแล้วจึงเอาลงน้ำปล่อยให้ฟักเป็นตัวก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดของปลาจะชอบอย่างไหน

ปลาตัวผู้บางชนิดคึกจัดให้มีกำลังมาก เพราะฉะนั้นถึงควรจับให้ผสมพันธุ์เป็นสามเส้า คือตัวผู้หนึ่งต่อตัวเมียสองตัวจึงจะพอสมดุลกัน

ปลาตัวเมียในชนิดที่ก่อหวอดทำที่ออกไข่นั้น เมื่อตกไข่แล้วควรย้ายที่ไปเสีย ปล่อยให้ตัวผู้ทำหน้าที่กกไข่เอง เพราะปลาตัวผู้จำพวกนี้จะหวงรังและลูกอ่อนอย่างที่สุด

ปลาตัวเมียในจำพวกที่ออกลูกเป็นตัวนั้น เมื่ออกลูกแล้วถ้าทำได้ก็ควรจะให้พักเสียสัก ๒๓ วันก่อน แล้วจึงเอากลับคืนตู้เลี้ยง มิฉะนั้นจะไม่มีกำลังรับผสมพันธุ์กับตัวผู้ใหม่อีก

การแยกคู่ปลา

ก่อนที่จะนำคู่ปลาที่ออกลูกเป็นไข่ลงในตู้ผสมพันธุ์ เราควรแยกตัวผู้และตัวเมียที่เลือกไว้แล้วให้ห่างกันเสียก่อน ตามปกติเราควรเอาตัวเมียไว้ในตู้ผสมพันธุ์ก่อนสัก ๒-๓ สัปดาห์ เพื่อให้ปลาตัวเมียเกิดความรู้สึกว่ามันเป็นเจ้าของถิ่น พอเอาตัวผู้ลงไปตัวผู้จะได้ยอมรับความเป็นเจ้าถิ่นของตัวเมียอย่างแท้จริง ทั้งนี้เพราะว่าปลาจำพวกนี้ตัวผู้ที่อยู่ก่อนจนกลายเป็นเจ้าของถิ่นมักจะกัดตัวเมียถ้าตัวเมียไม่ยอมผสมในทันที โดยมันถือว่าเมื่อมันเป็นเจ้าของถิ่น ปลาตัวเมียต้องยอมให้มันผสมพันธุ์เสมอ ถ้าให้ตัวเมียเป็นเจ้าของถิ่น การผสมพันธุ์จึงจะเป็นไปโดยเรียบร้อย

ส่วนปลาที่ออกลูกเป็นตัวทีละมากๆ นั้นไม่จำเป็นที่เราจะส่งเสริมหรือกระตุ้นการผสมพันธุ์ แต่เพื่อให้ได้ลูกปลาที่มีคุณภาพเราควรจะควบคุมการผสมพันธุ์ของมัน โดยเลือกเอาตัวที่มีสีใดสีหนึ่งเด่นๆ โดยเฉพาะ เพราะการผสมหลากสีเท่าที่ปรากฏแล้วไม่ค่อยได้ผล

การเลือกคู่ผสมพันธุ์

ไม่ว่าท่านจะทำการผสมพันธุ์ปลาชนิดวางไข่หรืออกลูกเป็นตัว ท่านจะเลือกคู่ผสมพันธุ์ที่เหมาะสมเสียก่อน นั่นคือเลือกเอาปลาคู่ที่สมบูรณ์เต็มที่ การที่จะรู้ว่าปลาตัวไหนเป็นตัวผู้ ตัวไหนเป็นตัวเมียนั้นไม่ยาก ถ้าเป็นปลาชนิดที่ออกลูกเป็นตัวผู้ให้ดูที่ครีบทวารดังกล่าวมาแล้วในบทว่าด้วยอวัยวะปลา เพราะปลาตัวผู้มีครีบทวารในรูปที่ผิดแผกไปจากครีบปลาตัวเมียจนเห็นได้ชัด สำหรับปลาชนิดที่ออกไข่นั้นลักษณะของครีบทวารเป็นแบบเดียวกัน และอาจมีครีบเด่นกว่ากันด้วย

ในการเลือกคู่ผสมพันธุ์ที่สมบูรณ์จริงๆนั้น เราอาจดูความสมบูรณ์ที่สีสันซึ่งควรจะมีสีสันซึ่งควรจะเป็นสีสด ดูที่ครีบว่าเจริญดีหรือไม่และดูความเจริญโดยทั่วไปของปลาโดย ทั่วๆ ไป โดยเฉพาะในขณะที่มันว่ายน้ำ ปลาที่แข็งแรงจะมีอาการกระปรี้กระเปร่าให้เห็นได้

ปลาในตระกูลชิคลิด ซึ่งส่วนมากเป็นปลาจากแอฟริกา มักเลือกคู่ของมันเอง ถ้าปลาจำพวกนี้จับคู่กันโดยแสดงให้เห็นว่าปลาคู่นั้นจะเลี่ยงออกจากหมู่ไปอยู่ต่างหาก เราอาจถือว่าปลาคู่นั้นเป็นคู่ผสมพันธุ์ที่แท้จริงได้ทีเดียว

แต่ปลาที่ออกลูกเป็นตัวนั้นมักเลือกคู่เอาเองอย่างส่งเดช มันพร้อมที่จะผสมพันธุ์กับตัวใดตัวหนึ่งก็ได้โดยไม่เลือกสีสัน ไม่เลือกว่าคู่ของมันจะสมบูรณ์หรือไม่ ในกรณีเช่นนี้เราต้องเลือกคู่ให้มันและแยกคู่ปลาออกไปเสียแต่เนิ่นๆ

ปลาอมลูก

ปลาอมลูกพันธุ์อียิปต์ (Hemihaplochormis multicolor) ในภาพนี้อาจไม่จำเป็นต้องมีที่ผสมพันธุ์เป็นพิเศษ เพราะมันจะคุ้มครองลูกของมันจากอันตรายใดๆทุกขณะด้วยวิธีอมลูกไว้ในปากเสมอ ในขณะที่ตัวเมียทำหน้าที่นี้ มันจะไม่กินอาหารเลย

ปลาที่ชอบทำหวอดไข่

ปลาชนิดนี้ เช่น ปลากัด (Betta splendens) ในภาพเวลาจะผสมตัวผู้ชอบก่อหวอดไว้ก่อน และอาจไล่กัดตัวเมียเมื่อมันนึกว่าตัวเมียไม่ยินยอม ดังนั้นควรเอาตัวเมียไว้ในตู้ผสมพันธุ์ก่อน แล้วจึงปล่อยตัวผู้ลงเพื่อให้ตัวผู้รู้สึกว่า ตัวเมียนั้นเป็นเจ้าของถิ่นซึ่งจะต้องเอาแต่ใจ

ปลาที่ชอบซ่อนไข่

ปลาจำพวกนี้ออกไข่ไม่ให้ใครเห็น เวลาผสมก็ไม่ชอบให้ใครเห็น มันจะหาที่ซ่อนเร้นผสมพันธุ์กว่าใครจะรู้ว่ามันออกไข่ ไข่ก็มักจะเป็นตัวอ่อนเสียแล้ว สำหรับปลาพวกนี้เช่นปลาคีบตรง ( Pelvicachromis pulcher) ในภาพกระถางอาจเป็นที่ซ่อนไข่ของมันได้ดี

ปลาที่ชอบฝังไข่

สำหรับปลาที่ชอบฝังไข่ เช่นปลามุกอาร์เจนติน ( Cynolebias bellotti) ดังในภาพนี้ ควรใช้ปุยหรือกากเศษไม้แผ่ไว้ที่ตู้ให้ปลาสามารถฝังไข่ได้ เมื่อเสร็จการออกไข่แล้ว จึงเอาปุยที่ไข่ติดอยู่ออกผึ่งซัก - เดือน แล้วเอาจุ่มน้ำให้ไข่ออกเป็นตัว

ปลาที่ออกไข่เรี่ยราด

เช่น ปลาม้าลาย ( Brachydanio resio) ในภาพนี้เมื่ออกไข่แล้วมักชอบกินไข่ตัวเอง วิธีแก้ให้เอากรวดก้อนโตๆหรือลูกแก้วดาดพื้นตู้ไว้ ซึ่งเมื่อไข่ลงไปอยู่ในซอก ปลาก็ลงไปกินไม่ได้ เมื่อปลาออกไข่หมดและย้ายออกไป จึงค่อยเอากรวดออก

ตู้ผสมพันธุ์

ตู้ผสมพันธุ์นั้นเป็นตู้เลี้ยงชั่วคราว จึงไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องกรองน้ำอย่างใดๆ โดยเฉพาะเครื่องกรองน้ำที่กำลังไฟฟ้าและเครื่องกรองน้ำทางชีวภาพ ซึ่งอาจดูดเอาลูกอ่อนลงไปใต้กรวดก็ได้ เพราะลูกอ่อนยังว่ายน้ำไม่แข็งพอ หากจะใช้ก็ใช้เพียงเครื่องกรองน้ำด้วยฟองน้ำธรรมดาเท่านั้นก็พอ

สำหรับอุณหภูมิในตู้ผสมพันธุ์นั้นควรให้อยู่ในระดับเดียวกับในตู้เลี้ยง สภาพของน้ำก็ควรเหมือนกัน สำหรับปลาที่ออกลูกเป็นตัว ตู้ผสมพันธุ์จะเป็นที่อาศัยของแม่ปลาตั้งแต่ตอนตั้งท้องทีเดียว ดังนั้นจึงต้องแยกแม่ปลาออกจากตู้เลี้ยงเสียแต่เนิ่นๆในระยะอุ้มท้อง ๓๐ วัน หากจะใช้เรือนตะแกรงกั้นไว้เฉพาะก็ได้ แต่แม่ปลาอาจเกิดความอึดอัดและอาจตกลูกก่อนเวลาก็ได้

ประเภทของการแพร่พันธุ์

ปลาที่ทิ้งไว้ไข่เรี่ยราดนั้นไม่สู้จะแยแสกับไข่ของมันนักและถ้าเราปล่อยไว้ มันก็จะกินไข่เหล่านั้นเสียเลย หลักการที่จะป้องกันการกินไข่คือต้องแยกปลาพ่อแม่ออกไปเสียหลังจากที่มีการออกไข่และผสมเชื้อแล้ว วิธีที่ดีที่สุดได้แก่การใช้ตาข่ายหรือตะแกรงกั้นระหว่างตัวปลากับไข่ไว้เสีย ให้ไข่เท่านั้นที่ตกถึงพื้นตู้ โดยที่ปลาจะลงไปถึงพื้นตู้ไม่ได้ หรือจะใช้ก้อนหินดาดพื้นตู้ไว้ให้เต็มก็ได้ เพื่อให้ไข่ปลาตกลงมาตามร่องหิน โดยตัวปลาจะแทรกช่องหินลงไปไม่ได้เลย ดังนั้นเป็นต้น

ปลาที่ชอบฝังไข่นั้นต้องการพื้นตู้ที่ดาดด้วยฝอย หรือหญ้าในสภาพคล้ายหนองน้ำเหนือชั้นกรวดขึ้นมา เพื่อให้ปลาสามารถดำลงไปหมกไข่ของมันไว้ได้

ส่วนปลาที่วางไข่ไว้เป็นที่จะหวงไข่และลูกอ่อนของมันมาก เราควรทำซอกหิน หรือหลืบถ้ำไว้ให้มัน จะใช้กระถางเล็กๆไว้ให้มันอาศัยเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ก็ได้

ปลาที่ชอบทำรังเตรียมไว้ก่อนมักอาศัยต้นพืชเป็นที่ก่อหวอดโดยการพ่นฟองไว้ที่ผิวน้ำ ดังนั้นตู้ปลาที่ทำไว้สำหรับให้มันผสมพันธุ์จึงควรมีต้นไม้น้ำตบแต่งไว้อย่างดี เพื่ออำนวยที่ให้มันอาศัยก่อหวอดและใช้เศษพืชตบแต่งรังของมันได้

ปลาที่อมลูกไว้ในปากเพื่อความปลอดภัยของลูกต้องการความเงียบสงบ เมื่อมีลูกอ่อนปลาตัวเมียจำพวกนี้จะใช้โพรงปากของมันอมลูกไว้เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ลูกอ่อน ในเวลาเช่นนี้ปลาจะไม่กินอาหารเลย ดังนั้นการให้อาหารปลาจึงไม่บังควรกระทำในตอนนี้ ขอให้มันอยู่อย่างสงบปราศจากการรบกวนใดๆเป็นการเพียงพอ

ปลาที่ออกลูกเป็นตัวนั้นจะออกลูกเป็นตัวอ่อน ซึ่งพออกมาแล้วก็ว่ายน้ำได้เลย สำหรับปลาจำพวกนี้ควรจะแต่งตู้ผสมตู้ผสมพันธุ์ไว้ด้วยพืชโดยให้มีพืชลอยน้ำบ้าง ลูกอ่อนจะอาศัยเป็นที่กำบังได้ตามธรรมชาติวิสัยของมัน

การผสมพันธุ์ปลาในตู้เพาะ

การเลี้ยงปลาในตู้เลี้ยงปลาจะให้ความเพลิดเพลินบันเทิงใจสูงสุดแก่ผู้เลี้ยงในตอนไหนก็ไม่เท่าตอนผสมพันธุ์

การผสมพันธุ์ปลาในตู้เลี้ยงเป็นการผสมพันธุ์ในที่จำกัด ซึงไม่อำนวยที่ทางให้ปลาแยกตัวออกไปหาที่ปลอดภัยได้อย่างเพียงพอ เมื่อลูกอ่อนมาแล้วอาจถูกปลาใหญ่กินเสียก็ได้ เพราะฉะนั้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้ เราควรมีตู้ปลาไว้สำหรับผสมพันธุ์โดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยให้ปลาดูแลลูกของมันได้ระยะหนึ่งจนกว่าจะโตพอที่จะอยู่รวมกับปลาอื่นได้อย่างปลอดภัยจึงค่อยปล่อยลงตู้เลี้ยงปลาต่อไป

ระยะของการผสมพันธุ์อาจแบ่งออกได้เป็นสองตอนๆแรกเป็นตอนผสมพันธุ์และตกลูก ตอนที่สองเป็นตอนดูแลลูกอ่อน เราจะช่วยปลาได้ทั้งสองตอนโดยแยกปลาที่จะผสมพันธุ์ไว้ในตู้เพาะอีกตู้หนึ่งต่างหากเสียตั้งแต่ตอนแรก

ปลาที่ออกลูกโดยการวางไข่นั้นมีธรรมชาติวิสัยต่างกันหลายอย่าง บ้างก็ตกไข่ไว้เรี่ยราด บ้างฝังไข่ บ้างวางไข่ไว้เป็นที่ทำรังเตรียมไว้ก่อนก็มี และบ้างก็มีอมลูกไว้ในปาก ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเตรียมตู้ผสมพันธุ์ไว้ให้ถูกกับธรรมชาติของมัน

โรคร้ายแรง

ส่วนโรคร้ายแรงที่เกิดแก่ปลานั้นเป็นโรคภายใน เช่น วัณโรคปลา โรคพยาธิเส้นด้าย และพยาธิตัวแบน โรคเหล่านี้เป็นโรคที่ผู้เลี้ยงปลาจะสังเกตเห็นไม่ได้แต่ต้นมือ กว่าปลาที่เป็นโรคจะแสดงอาการให้เห็นก็ตอนที่เป็นมากเสียแล้วจนไม่อาจรักษาให้หายได้ และการตรวจวินิจฉัยโรคก็เป็นเรื่องของผู้ชำนาญโรคปลาโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำได้โดยการตรวจอวัยวะของปลาที่เป็นโรค ซึ่งมักจะต้องทำด้วยวิธีผ่าดูเท่านั้น โรคประเภทนี้จึงเป็นโรคที่อยู่นอกเครือข่ายที่ผู้เลี้ยงปลาควรรู้ เพราะเมื่อเกิดเป็นขึ้นแล้วก็ไม่มีทางจะรักษาให้หายได้ จึงไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้

ส่วนผสมของน้ำยาแต่ละชนิด

น้ำยาเมทิลีนบลูส่วนผสม 1%

สำหรับอาบนาน ใช้ 1.7 ถึง 3.4 ซีซี ต่อน้ำ 1 แกลลอน หรือ 231 ลูกบาศก์นิ้ว ถ้าใช้น้ำ 1 แกลลอนหลวง คือ 277 ลูกบาศก์นิ้วใช้น้ำยา 2 ถึง 4 ซีซี หรือ 0.4 ถึง 0.8 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร

น้ำยาอคริฟลาวิน 10 มก. ต่อลิตร

สำหรับอาบน้ำนาน ใช้ 10 ซีซี ต่อ 1 แกลลอนหลวง หรือ 2.2 แกลลอนหลวง ต่อลิตร

น้ำยาฟอร์มาลิน 47% ฟอร์แมลดิไฮด์

สำหรับอาบระยะสั้น (ราว 45-50 นาที) ใช้ 1.2 ซีซี ต่อ 1 แกลลอนหลวง หรือ 0.25 ซีซี ต่อ 1 ลิตร

สำหรับอาบน้ำนาน ใช้ 0.3 ซีซี ต่อ 1 แกลลอนหลวง หรือ 0.66 ซีซี ต่อ 1 ลิตร

อนึ่งตัวพยาธินั้นต้องอาศัยตัวปลา ถ้าไม่มีปลาพยาธิจะอยู่ไม่ได้เลย ดังนั้นถ้าเอาปลาที่เป็นโรคลงอาบน้ำยา ควรทิ้งตู้ปลาไว้ว่างเสียสัก 2-3 วัน พยาธิก็จะตายหมด

โรคปลาตามที่ระบุมาข้างบนเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นแพร่หลาย ยังมีโรคบางชนิดที่ไม่สู้จะเกิดแพร่หลายนัก โปรดดูรูปที่นำลงประกอบ

โรคต่างๆและวิธีรักษา

โรคจุดขาว (Ichthyophthiriasis)

เป็นโรคพยาธิที่เป็นแก่ปลามากที่สุด และเอาตรวจวินิจฉัยได้ง่ายที่สุด ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีจุดขาวที่ลำตัวแผ่ไปถึงครีบเป็นโรคสืบเนื่องตามธรรมชาติของวัฏจักร คือพยาธิที่ทำให้ปลาเป็นโรคนี้จะออกจากตัวปลาลงไปจับก้อนในถุงตามพื้นตู้ แล้วแตกจากถุงเป็นตัวพยาธิพลุกพล่านไปเข้าสู่ปลาตัวอื่นๆการรักษาอาจทำได้ในระยะพยาธิพลุกพล่านนี้ และต้องทำให้ตู้ปลาเลี้ยงทั้งตู้โดยไม่ต้องแยกปลาป่วยออกไป เพราะพยาธิพลุกพล่านทั่วไปแล้ว ยาที่จะรักษาก็หาได้ง่ายและใช้ง่าย ทั้งให้ผลชะงักด้วย

โรคเชื้อรา (Saprolegnia)

โรคนี้จะทำให้ปลาเกิดอาการด่างเป็นกระจุกขึ้นที่ลำตัวเหมือนปุยสำลี หรือมีเส้นด่างเหมือนเส้นใยแมงมุมหรือเส้นประด้วยฝุ่นผง วิธีรักษาทำให้ผลชะงัดก็คือให้เอาตัวปลาออกลงอาบน้ำเกลือ เกลือที่ใช้นี้ไม่ใช่เกลือแกง ให้ใช้เกลือธรรมชาติผสมน้ำจืดเตรียมไว้อัตราส่วนดังนี้ ถ้าอาบชั่วคราวเพียง ๑๕-๓๐ นาที ใช้เกลือ ๒- ออนซ์ต่อน้ำ ๑ แกลลอน ( ๒๓๑ ลูกบาศก์นิ้ว) ถ้าต้องให้อาบนานใช้เกลือ ๐.๘ ออนซ์ต่อน้ำ ๑ แกลลอน หรือ ออนซ์ต่อน้ำ ๑ แกลลอนหลวง (๒๗๗ ลูกบาศก์นิ้ว)

ข้อที่พึงสังวรคือ โรคเชื้อรานี้มีอาการปรากฏขึ้นที่ปาก เรียกว่า ราปาก โรคราปากนี้เกิดจากแบคทีเรีย ชื่อ Chondrococcus ไม่อาจรักษาให้หายได้ด้วยวิธีอาบน้ำเกลือดังกล่าวแล้ว วิธีรักษษาต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งจะได้จากสัตว์แพทย์เท่านั้น

โรคตัวสั่น (Shimmying)

ถ้าอยู่ๆปลาก็มีอาการตัวสั่นไหวขึ้นมาโดยปราศจากการเคลื่อนไหวในการว่ายน้ำ ให้พึงเข้าใจว่า อุณหภูมิของน้ำในตู้คงจะลดลง ทำให้ปลาเย็นเยือก วิธีแก้ก็คือให้ปรับอุณหภูมิของน้ำในตู้เสียให้เข้าระดับที่เหมาะสม อาการสั่นไหวของปลาก็จะหายไป

โรคมานน้ำ (Dropsy)

อาการของโรคนี้จะเห็นได้จากการพองตัวของเกล็ดปลา ทำให้เกล็ดปลาถ่างออกจากตัวปลา ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากโพรงเนื้อในตัวปลามีน้ำขังเรียกกันเป็นสามัญว่ามานน้ำ โรคนี้เป็นโรคที่รักษายาก และน้ำที่ขังอยู่ในตัวปลาอาจหลออกจากตัวทำให้เกิดการติดโรคแก่ปลาตัวอื่นได้ ถ้าปลาตัวใดเกิดอาการเช่นว่าให้แยกปลาตัวนั้นออกจากตู้เลี้ยงเสียทันที จนกว่าจะหายจากโรคหรือต้องทำลาย

โรคครีบแหว่ง

โรคนี้เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียที่มักอุบัติขึ้นในน้ำที่ไม่สะอาด ทำให้ปลาเกิดอาการครีบและหางแหว่งในระหว่างเส้นที่ประกอบกันเป็นครีบและหาง บางทีครีบและหางอาจแหว่งไปเพราะความไม่ระมัดระวังในการช้อน หรือถูกปลาอื่นกัด แล้วแบคทีเรียก็เข้าเกาะอาศัยกินครีบและหางให้แหว่งมากขึ้น วิธีบำบัดถ้าท่านสังเกตเห็นปลาเกิดอาการเช่นนี้ให้รีบทำความสะอาดตู้ปลาโดยการเปลี่ยนน้ำเสียโดยเร็ว การใช้ยาอาจช่วยให้ครีบและหางที่แหว่งเป็นปกติได้บ้าง แต่การทำความสะอาดตู้เป็นวิธีที่ดีที่สุด

โรคพยาธิเจาะไช (Gill fiukes and skin flukes)

ถ้าท่านเห็นปลาแถกเหงือกออก หรือเที่ยวเอาเหงือกและตัวถูตามหินหรือต้นไม้น้ำ ให้พึงเข้าใจว่าลากำลังมีพยาธิตัวเล็กๆเจาไช ถ้าเป็นกับเหงือกเรียกว่า Gill fiukes เกิดจากพยาธิตัวแบนเรียกว่า Dactylogyrus เข้าอาศัยเหงือกและเจาะไชทำให้เกิดอาการคัน ถ้าเป็นกับผิวหนังเกิดจากพยาธิจำพวกคล้ายกันเรียกว่า Gyrodactylus ทำให้เกิดอาการคันและสีจาง กำลังของปลาก็อ่อนลง วิธีถ่ายพยาธิออกจากปลาที่เป็นโรคนี้อาจทำได้โดยให้ปลาลงอาบน้ำยาเมทิลีนบลู(methylene blue) ฟอร์มาลีน (Formalin) หรือคริฟลาวิน (acriflavine) แต่ถ้าใช้น้ำยาฟอร์มาลนต้องทำด้วยความระมัดระวังที่สุด เพราะฟอร์มาลินเป็นยาพิษ ต่อไปนี้คือส่วนผสมของน้ำยาแต่ละชนิด

การรักษาโรคปลา

จงให้ยาตามคำแนะนำของหมอหรือสลากยาตามเข้มงวดเพื่อป้องกันการให้ยาเกินขนาด

ยาบางชนิดอาจก่อให้เกิดผลร้ายแก่พืชประดับตู้ หรืออาจเสื่อคุณภาพเพราะถูกแสงสว่าง ดังนั้นจงแยกปลาป่วยออกไปเสียจากตู้เลี้ยง และอย่าให้ยาถูกแสงสว่าง

ยาบางชนิดทำให้ระดับออกซิเจนลดลง ดังนั้นในระหว่างการรักษาโรคจงเพิ่มอากาศโดยปล่อยพรายน้ำให้มาก

จงถอดแผ่นคาร์บอนออกเสียจากเครื่องกรองน้ำในระหว่างการักษาโรค

อย่าใช้สารเคมี(เช่นยาฆ่าทาก) ทำลายสัตว์น้ำที่อาศัยตามกรวด เพราะถ้าทากซุกซ่อนตัวอยู่ใต้กรวด สารเคมีจะลงไปทำลายตัวทาก ทำให้ทากสลายตัว ก่อให้เกิดน้ำเสียได้ ทั้งจะทำให้เครื่องกรองน้ำใต้กรวดเสียหายด้วย

เกี่ยวกับปลาและสิ่งประดับตู้

จงซื้อแต่ปลาที่ท่านแน่ใจว่าสมบูรณ์ดีเท่านั้น

ถ้าจะนำปลาใหม่มาเพิ่มเติม ควรกักปลาใหม่ไว้สักระยะหนึ่งก่อน แล้วจึงนำลงตู้เลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆ

ตรวจพืชพันธ์ไม้น้ำที่จะประดับตู้ อย่าให้มีไข่สัตว์น้ำติด เพื่อให้ปลอดเชื้อ จงล้างพันธุ์ไม้น้ำด้วยโปแตชเซียมเปอร์แมงกาเนตเสียก่อนแล้วจึงเอาลงประดับตู้

หากมีปลาเกิดโรค ให้แยกปลาที่เป็นโรคออกจากตู้เลี้ยงโดยด่วนที่สุด

แนะแนวรักษาสุขภาพปลา

ภาวะแวดล้อม :

อย่าเลี้ยงปลาจำนวนมากเกินไปในตู้เดียวกัน หากมีปลาตัวใดตัวหนึ่งเกิดโรค โรคจะระบาดไปอย่างรวดเร็ว

อย่าเลี้ยงปลาตัวโตไว้ด้วยกันกับตัวเล็ก และในตู้ควรมีที่ให้ปลาได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ

อย่าให้อาหารปลามากเกินควร เพราะอาหารที่เหลือเกินจะทำให้น้ำเสีย

อย่าให้อาหารปลาน้อยเกินควร เพราะปลาที่อดอยากจะเกิดโรคง่าย

อย่าให้อาหารชนิดเดียวจำเจ เพราะอาหารชนิดเดียวอาจขาดวิตามินบางอย่างในการบำรุงปลาให้แข็งแรง

อย่าให้ตู้ปลาของท่านรับสิ่งเป็นพิษได้ เช่นควันบุหรี่ ควันไฟ กลิ่นสี และสเปรย์ เป็นต้น

จงรักษาเครื่องกรองน้ำให้สะอาด และถ่ายเทน้ำในตู้อย่างสม่ำเสมอ

อย่าทำให้ปลาตกใจโดยผลุนผลันเปลี่ยนน้ำหรือสภาพของน้ำโดยแท้

การรักษาโรคปลา

เมื่อปลาตัวใดตัวหนึ่งในตู้เลี้ยงปลาเกิดเป็นโรค หลักปฏิบัติกว้างๆ ต้องแยกปลาตัวนั้นออกจากตู้เลี้ยงเสียทันที เพื่อมิให้โรคติดถึงตัวอื่น แล้วนำปลาที่เป็นโรคนั้นลงตู้กักปลา หรือตู้ปลาพยาบาล เพื่อทำการบำบัดรักษาต่อไป แต่การที่จะรักษาโรคปลาให้ได้ผล เราจะต้องตรวจวินิจฉัยให้รู้ว่าปลาเป็นโรคอะไรเสียก่อน

ความผิดปกติที่เกิดแก่ปลาในชั้นต้นได้แก่การมีเมือกมากเกินไป อาการเช่นนี้จะบอกให้รู้ได้ว่า มีสิ่งผิดปกติเกิดแก่ปลาขึ้นแล้ว การที่ปลาเกิดเมือกมากเกินไปอาจเป็นเพราะมีบาดแผลเกิดขึ้น ทำให้ปลาขับเมือกออกมากเพื่อสมานบาดแผลก็ได้ หรือเมือกอาจเกิดเองเพื่อกำบังตัวพยาธิที่อาศัยตัวปลาก็ได้ ถ้าเป็นประการหลังให้ดูว่า ปลาจะมีอาการต่อไปเช่นไรบ้าง ดังได้จาระไนไว้ในหัวข้อโรคต่างๆและวิธีการรักษาในหน้าต่อนี้แล้ว

การบำบัดรักษาโดยทั่วๆ ไป มีการให้ยาและอาบน้ำยาเป็นหลัก ข้อที่ควรตระหนักในที่นี้ก็คือ การอาบน้ำยามีทั้งวิธีอาบชั่วระยะสั้น เพียงไม่กี่นาที และวิธีอาบระยะยาวซึ่งใช้เวลานานจนกว่าน้ำยาจะอ่อนฤทธิ์ หรือโรคจะหาย การอาบระยะยาวนี้ต้องใช้ยาอ่อน สูตรการผสมน้ำยานั้นได้ให้ไว้แล้วในหัวข้อโรคต่างๆ เช่นกัน ส่วนการให้ยาก็ต้องละลายน้ำก่อนเสมอและต้องให้ตามสูตรที่แจ้งไว้ในรายการสั่ง ในบางกรณีการให้ยาอาจทำได้โดยการให้อาหารตามปกติ โดยเอาอาหารเกลือกยาเสียก่อน แต่วิธีนี้ให้ผลไม่สู้แน่นอนนัก เพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่าอาหารจะได้ยาสักเท่าใด

ในระหว่างการบำบัดรักษา ถ้าเป็นการรักษาภายในตู้เลี้ยงควรเอาแผ่นคาร์บอนในเครื่องกรองน้ำออกเสีย เพราะคาร์บอนจะดูดยาไว้ทำให้ยาไม่เกิดผล และในระหว่างการบำบัดรักษาออกซิเจนในน้ำอาจน้อยลงด้วยฤทธิ์ยา ฉะนั้นจึงควรสูบอากาศเข้าไปในน้ำให้มาก พืชบางชนิดก็อาจได้รับผลเสียจากยาได้ ฉะนั้นถ้าการบำบัดรักษากระทำภายในตู้เลี้ยง เมื่อพ้นกำหนดแล้วควรจัดการเปลี่ยนพืชในตู้เสียด้วย

การป้องกันและรักษาโรคปลา

ปลาที่เราเลี้ยงไว้ในตู้อาจเป็นโรคได้โดยที่เราไม่ได้นึกฝันและการที่ปลาเกิดโรคนั้น เราก็มักจะคิดเสียว่าไม่ร้ายแรง เหมือนคนเป็นหวัดธรรมดาเท่านั้น ต่อเมื่อปลาตายไปนั่นแหละ เราจึงจะคิดแก้ไขกัน แต่ก็สายเสียแล้ว เมื่อปลาในตู้ตายไปตัวหนึ่งตัวอื่นๆ ก็มักจะพลอยตายไปด้วย เหมือนเกิดโรคระบาด ฉะนั้น

ในการเลี้ยงปลาตู้มีข้อที่ท่านควรคำนึงอยู่เสมอข้อหนึ่งว่าปลาในตู้ของท่านอาจเป็นโรคได้ไม่ในเวลาใดก็เวลาหนึ่ง เพราะฉะนั้นขออย่าได้ประมาทว่าปลาของท่านจะไม่เป็นโรค ความที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงความรู้กว้างๆ เท่านั้น แต่ผู้เลี้ยงปลาควรจะทำความเข้าใจให้ดีว่า เมื่อปลาของท่านเกิดโรคขึ้นแล้วอย่านอนใจ ให้รีบจัดการแยกปลาที่เป็นโรคออกจากตู้เลี้ยงเสียทันที โดยเอาปลาที่เป็นโรคเข้าตู้พยาบาลและจัดการเยียวยารักษาเสีย โรคเกือบทุกชนิดที่เกิดแก่ปลานั้นอาจรักษาได้ ข้อสำคัญขอให้เอาใจใส่เรื่องความสะอาดในตู้ปลาของท่านเป็นอย่างดีจะช่วยป้องกันโรคปลาได้มาก เพราะโรคปลานั้นบางทีก็เกิดจากความไม่สะอาดในตู้ปลาของท่านนั่นเอง เมื่อปลาเกิดโรคขึ้นตัวหนึ่ง ความนิ่งนอนใจของท่านก็จะทำให้ตัวอื่นติดโรคด้วย

เพื่อป้องกันการระบาดของโรคปลา ท่านควรจะมีตู้สำรองอีกตู้หนึ่งไว้สำหรับกักปลา และอาจใช้เป็นตู้พยาบาลปลาไปด้วยก็ได้ กล่าวคือ เมื่อท่านซื้อปลาใหม่มา อย่าเพิ่งเอาลงตู้เลี้ยงทันที ควรจะเอาลงตู้กักไว้สักระยะหนึ่งก่อน เพื่อดูว่าปลานั้นจะมีโรคอะไรหรือไม่ ถึงพืชน้ำก็เหมือนกัน ถ้าจะเอามาไว้ในตู้เลี้ยงก็ต้องดูก่อนว่าจะมีสิ่งแอบแฝงที่จะที่จะนำโรคมาให้หรือไม่ตู้กักปลานี้ไม่จำเป็นต้องตกแต่งอะไรให้พิสดารเหมือนตู้เลี้ยงเพียงแต่มีหินสักสองสามก้อนก็พอ เพื่อให้ปลารู้สึกสบายเท่านั้น ระยะเวลาที่กักก็ควรจะเป็นสักสองหรือสามสัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะที่โรคจะสำแดงอาการ ถ้าปลานั้นมีโรคอะไรติดมาตลอดระยะนี้ท่านควรเฝ้าดูอย่างพิถีพิถันว่าปลาจะเกิดมีจุดหรือฝ้า ฯลฯ ขึ้นตามส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวปลาหรือไม่ หากมีอาการโรคปลาปรากฏให้เห็น ท่านก็จะได้ใช้ตู้นั้นเป็นตู้พยาบาล จัดการบำบัดเยียวยาได้ในตัว

สำหรับพันธ์ไม้น้ำที่จะใช้ประดับตู้ เมื่อจะใช้พืชชนิดใดก็ควรตรวจดูเสียก่อน แม้ว่าพืชจะไม่มีอาการโรคปรากฏให้เห็นได้อย่างปลา แต่ก็อาจมีสิ่ง แปลกปลอมโดยสารพืชนั้นอยู่ด้วย เช่น ไข่พยาธิ และไข่ทาก เป็นต้น ซึ่งจะเป็นอันตรายแก่ปลาได้ ทางที่ดีถ้าท่านจะใช้พืชชนิดใดแต่งตู้ ควรล้างพืชนั้นในน้ำยาโปแตสเซียมเปอร์แมงกาเนตผสมอ่อนๆ เพื่อทำลายสิ่งมีชีวิตที่ติดมากับพืชเสียก่อน จึงจะปลอดภัย

อนึ่งถ้าท่านใช้ตู้หลายใบ ไม่ว่าจะเป็นตู้เลี้ยงปลา ตู้กัก และตู้พยาบาล ท่านควรมีสวิงหรือตาข่ายของใครของมัน อย่าใช้สวิงหรือตาข่ายสำรวม เพราะอาจพาเชื้อโรคจากตู้หนึ่งไปยังอีกตู้หนึ่งได้ และการถ่ายน้ำจากตู้หนึ่งไปลงอีกตู้หนึ่งก็ไม่ควรกระทำด้วยเหตุผลอย่างเดียวกัน

ควันบุหรี่ ควันไฟ กลิ่นสเปรย์ กลิ่นสี หรือน้ำมันชักเงาเครื่องแต่งบ้าน เหล่านี้อาจทำให้น้ำในตู้เลี้ยงปลาเสียได้เหมือนกัน เครื่องสูบอากาศเข้าไปในตู้จะสูบสิ่งเหล่านี้เข้าไปด้วย โลหะและซีเมนต์ก็อาจทำให้น้ำเสียได้ ส่วนผสมไนเตรทมีแอมโมเนียเป็นต้น สำหรับใช้ในเครื่องกรองน้ำทางชีวภาพนั้น ควรจะใช้แต่น้อยที่สุด และการเปลี่ยนน้ำก็ควรทำเป็นประจำดังกล่าวแล้วข้างต้น

ทั้งๆที่อาหารปลาสำเร็จรูปก็ประกอบด้วยคุณภาพสูงอยู่แล้ว การให้ปลาอย่างอื่น เช่น ลูกน้ำ ก็ควรจะทำบ้างเพื่อมิให้ปลาเกิดรู้สึกจำเจและเพื่อป้องกันการขาดวิตามินบางชนิดด้วย

การฝากฝังการดูแล

ถ้าท่านจำเป็นต้องจากที่อยู่ไปนาน ๆ เช่นในการไปพักแรมในที่อื่น หรือในการแปรสถาน หากท่านมีผู้ดูแลแทนที่เหมาะสมก็ไม่เป็นปัญหาอะไร ขอแต่อย่าให้ปฏิบัติการในเรื่องการให้อาหารอย่างถูกต้องเท่านั้น คืออย่าให้อาหารปลาที่ละมากๆ เกินควร แต่ความจริงถ้าท่านเพียงแต่จากบ้านไปชั่ว 2-3 วัน หรือสัปดาห์หนึ่งเป็นอย่างมาก ท่านไม่จำเป็นต้องฝากฝังความดูแลก็ได้เพราะถ้าปลาได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดีเป็นสัปดาห์ๆ ตลอดมาจนถึงวันที่ท่านจำเป็นต้องไป ปลาจะอยู่ได้โดยไม่กินอาหารและไม่ได้รับแสงสว่างเลยเป็นเวลาถึงหนึ่งสัปดาห์หรือกว่านั้น แต่ถ้ามีใครรับดูแลแทน ท่านจะต้องกำชับในการให้อาหารตามที่ท่านเคยปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

ภารกิจในการอารักขาบำรุง

การอารักขาบำรุงปลาเลี้ยงของท่านไม่ใช่ภารกิจหนักหนาอะไรเลย เพียงแต่ใช้เวลาวันละไม่กี่นาที รวมเวลาอย่างมากก็เพียงเดือนละหนึ่งหรือสองชั่วโมงเท่านั้น เป็นภารกิจที่อาจทำได้ในเวลาเฝ้าชมปลาของท่านตามปกติด้วยซ้ำ หรือจะทำในเวลาให้อาหารปลาก็ได้ ทุกคราวที่ให้อาหารปลาท่านควรจะดูว่าปลาอยู่กันพร้อมหน้าหรือไม่ ถ้าเกิดมีปลาตัวใดตัวหนึ่งหายหน้าไป ต้องหามันให้พบเสียทันที เพราะหากปลาตัวที่หายไปมีอาการผิดปกติก็จะได้แก้ไข และถ้ามันหายไปเพราะตายลงเสียแล้ว จะได้เอาออกเสียจากตู้ เพราะปลาตายจะทำให้น้ำเสีย หรือแพร่โรคไปถึงตัวอื่นๆ

การดูเทอร์โมมิเตอร์ในตู้ ดูว่าเครื่องจ่ายและปรับความร้อนตลอดจนระบบกรองน้ำทำงานปกติหรือไม่ เป็นภารกิจง่ายๆ ที่ควรจะทำทุกวัน ถ้าฉวยมีอะไรผิดปกติก็จงปรับเสียให้เป็นปกติ หลอดไฟที่ขาดก็ควรจะจัดการเปลี่ยนหลอดเสียใหม่

ไส้กรองน้ำอาจเปลี่ยนได้ตามความจำเป็น ขึ้นอยู่กับความสกปรกของน้ำ หรือนิสัยของปลา อย่างน้อยควรเปลี่ยนใหม่ทุกสองถึงสี่สัปดาห์ เวลาปรับเครื่องกรองน้ำที่ใช้กำลังไฟฟ้า อย่าลืมขันและตรวจท่อต่อให้แน่น ใบไม้ที่เฉาตายในน้ำควรจะเอาออก ตะไคร่ที่กระจกในตู้ตอนที่อยู่ด้านหลังจะปล่อยทิ้งไว้ก็ได้ เพื่อประโยชน์ของพันธุ์ไม้น้ำในตู้

การเปลี่ยนน้ำราว 20-25% ของน้ำในตู้ควรทำทุกเดือนโดยเอาน้ำเก่าออกไปแล้วเอาน้ำใหม่ที่มีอุณหภูมิเท่าน้ำเก่าใส่ลงไปแทน วิธีถ่ายน้ำให้ปฏิบัติอย่างเกี่ยวกับการเติมน้ำ คืออย่าถ่ายฮวบฮาบ ให้ค่อย ๆ เอาออกและเอาเข้า การทำความสะอาดตู้ควรจะทำในตอนนี้ เช่นเช็ดตู้และเอาการลักน้ำดูดสิ่งสกปรกออกไปเสียจากพื้นตู้ เครื่องเป่าอากาศในตู้อาจจะตันทำให้พรายน้ำไม่ผุดก็ควรเกลี่ยพื้นกรวดในตู้เสียงบ้าง เพื่อให้เครื่องกรองทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น

อาหารเป็นๆ สำหรับปลา

นอกจากอาหารสำเร็จรูปที่กล่าวมาแล้ว ปลาชอบกินอาหารเป็นๆ หลายชนิด เรามักรู้จักกันแต่ลูกน้ำของยุงและไรน้ำเท่านั้น แต่ความจริงยังมีสิ่งที่เป็นอาหารปลาอีกหลายชนิด ซึ่งเราอาจซ้อนหรือหาได้ตามสระ หรืออาจเพาะเลี้ยงไว้ด้วยก็ได้ ไส้เดือนในดินตัวเล็กๆ ก็เป็นอาหารที่ปลาชอบเหมือนกัน แต่ไม่ควรคุ้ยเอาขึ้นจากดินที่เขาโปรยหรือหว่านยาปราบวัชพืชไว้แล้ว

สัตว์น้ำตัวเล็กๆ ชนิดที่มีเปลือกหุ้ม ก็เป็นอาหารปลาได้เหมือนกัน แต่ไม่ควรจะให้ปลาตู้กิน เพราะอาจมีโรค และอาจมีศัตรูของปลาแอบแฝงอยู่ เช่นตัวอ่อนของปลิง ทาก หรือแมลงปอติดอยู่ที่เปลือก เป็นต้น จึงไม่ควรเอามาให้ปลากิน หรือ ถ้าจะให้กินก็ต้องใช้ความระมัดระวังตรวจดูอย่างพิถีพิถันที่สุดอย่าให้กินเสียเลยแหละดี

ส่วนลูกน้ำของยุงและไรน้ำอาจช้อนเอาขึ้นจากน้ำที่ไหนก็ได้ เมื่อเอามาปล่อยไว้ในน้ำที่สะอาดแล้ว ก็อาจเป็นอาหารปลาตู้ของท่านได้อย่างวิเศษ หนอนแดง (bloodworm) และกั้งฝอย (brine shrimp) ก็เป็นอาหารที่ปลาชอบ แต่ควรเลี้ยงไว้ในน้ำสะอาดปลอดจากเชื้อโรคเสียก่อน ไข่กั้งนั้นเก็บไว้ได้นาน ถ้าจะให้ปลากินก็เอาจุ่มน้ำเกลือ ไข่จะแตกเป็นตัว ปลอดจากโรค ใช้เลี้ยงลูกปลาได้ดีมาก

ให้อาหารแต่พอกิน

แม้ว่าอาหารที่ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดจะเป็นชนิดดีมีคุณค่าควรแก่การใช้เลี้ยงปลาก็ดี แต่การเลี้ยงอาหารชนิดเดียวจำเจก็อาจทำให้ปลาเบื่ออาหารชนิดนั้นและไม่แยแสต่ออาหารที่ให้อย่างจำเจได้ อันตรายที่สำคัญก็คือการให้อาหารเกินขนาด ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะทำให้ปลาอ้วนเหมือนคนที่กินจุ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า การให้อาหารจำเจก็ดี การให้อาหารเกินขนาดก็ดีจะทำให้อาหารเหลือกิน หรือเกิดอาการตกค้างเหล่านี้จะลงไปนอนก้นตู้ ทำให้เกิดน้ำเสียจนจำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำใหม่และเปลี่ยนก็ตบแต่งตู้ปลาแบบใหม่อีก

หลักสำคัญคือการควรให้อาหารแต่พอกิน โดยควรให้ทีละน้อยแต่บ่อยๆ เพื่อให้ปลากินหมดภายในเวลาไม่กี่นาที มิให้มีอาการเหลือ และถ้าให้เป็นชนิดต่างๆ กันได้ก็ดี ถ้าท่านมีคนอื่นในครอบครัวคอยให้อาหารกันหลายคน เวลาท่านให้อาหารปลาแล้ว ควรบอกให้เขารู้เสีย เพื่อเขาจะได้ไม่ต้องให้อีกในเวลาไล่เลี่ยกัน ซึ่งจะทำให้เกิดอาหารเหลือกินขึ้น เมื่อให้อาหารในตอนเช้าแล้วตอนต่อไปก็ควรจะเป็นตอนกลางวันหรือเที่ยง หลังจากนั้นก็ควรจะเป็นตอนเย็นและกลางคืน โดยให้แต่เพียงทีละน้อยๆ เท่านั้น การให้อาหารมื้อสุดท้ายควรจะเป็นตอนกลางคืนก่อนดับไฟนอน ซึ่งปลาที่มีนิสัยออกกลางคืนจะได้กินด้วย