โรคต่างๆและวิธีรักษา

โรคจุดขาว (Ichthyophthiriasis)

เป็นโรคพยาธิที่เป็นแก่ปลามากที่สุด และเอาตรวจวินิจฉัยได้ง่ายที่สุด ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีจุดขาวที่ลำตัวแผ่ไปถึงครีบเป็นโรคสืบเนื่องตามธรรมชาติของวัฏจักร คือพยาธิที่ทำให้ปลาเป็นโรคนี้จะออกจากตัวปลาลงไปจับก้อนในถุงตามพื้นตู้ แล้วแตกจากถุงเป็นตัวพยาธิพลุกพล่านไปเข้าสู่ปลาตัวอื่นๆการรักษาอาจทำได้ในระยะพยาธิพลุกพล่านนี้ และต้องทำให้ตู้ปลาเลี้ยงทั้งตู้โดยไม่ต้องแยกปลาป่วยออกไป เพราะพยาธิพลุกพล่านทั่วไปแล้ว ยาที่จะรักษาก็หาได้ง่ายและใช้ง่าย ทั้งให้ผลชะงักด้วย

โรคเชื้อรา (Saprolegnia)

โรคนี้จะทำให้ปลาเกิดอาการด่างเป็นกระจุกขึ้นที่ลำตัวเหมือนปุยสำลี หรือมีเส้นด่างเหมือนเส้นใยแมงมุมหรือเส้นประด้วยฝุ่นผง วิธีรักษาทำให้ผลชะงัดก็คือให้เอาตัวปลาออกลงอาบน้ำเกลือ เกลือที่ใช้นี้ไม่ใช่เกลือแกง ให้ใช้เกลือธรรมชาติผสมน้ำจืดเตรียมไว้อัตราส่วนดังนี้ ถ้าอาบชั่วคราวเพียง ๑๕-๓๐ นาที ใช้เกลือ ๒- ออนซ์ต่อน้ำ ๑ แกลลอน ( ๒๓๑ ลูกบาศก์นิ้ว) ถ้าต้องให้อาบนานใช้เกลือ ๐.๘ ออนซ์ต่อน้ำ ๑ แกลลอน หรือ ออนซ์ต่อน้ำ ๑ แกลลอนหลวง (๒๗๗ ลูกบาศก์นิ้ว)

ข้อที่พึงสังวรคือ โรคเชื้อรานี้มีอาการปรากฏขึ้นที่ปาก เรียกว่า ราปาก โรคราปากนี้เกิดจากแบคทีเรีย ชื่อ Chondrococcus ไม่อาจรักษาให้หายได้ด้วยวิธีอาบน้ำเกลือดังกล่าวแล้ว วิธีรักษษาต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งจะได้จากสัตว์แพทย์เท่านั้น

โรคตัวสั่น (Shimmying)

ถ้าอยู่ๆปลาก็มีอาการตัวสั่นไหวขึ้นมาโดยปราศจากการเคลื่อนไหวในการว่ายน้ำ ให้พึงเข้าใจว่า อุณหภูมิของน้ำในตู้คงจะลดลง ทำให้ปลาเย็นเยือก วิธีแก้ก็คือให้ปรับอุณหภูมิของน้ำในตู้เสียให้เข้าระดับที่เหมาะสม อาการสั่นไหวของปลาก็จะหายไป

โรคมานน้ำ (Dropsy)

อาการของโรคนี้จะเห็นได้จากการพองตัวของเกล็ดปลา ทำให้เกล็ดปลาถ่างออกจากตัวปลา ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากโพรงเนื้อในตัวปลามีน้ำขังเรียกกันเป็นสามัญว่ามานน้ำ โรคนี้เป็นโรคที่รักษายาก และน้ำที่ขังอยู่ในตัวปลาอาจหลออกจากตัวทำให้เกิดการติดโรคแก่ปลาตัวอื่นได้ ถ้าปลาตัวใดเกิดอาการเช่นว่าให้แยกปลาตัวนั้นออกจากตู้เลี้ยงเสียทันที จนกว่าจะหายจากโรคหรือต้องทำลาย

โรคครีบแหว่ง

โรคนี้เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียที่มักอุบัติขึ้นในน้ำที่ไม่สะอาด ทำให้ปลาเกิดอาการครีบและหางแหว่งในระหว่างเส้นที่ประกอบกันเป็นครีบและหาง บางทีครีบและหางอาจแหว่งไปเพราะความไม่ระมัดระวังในการช้อน หรือถูกปลาอื่นกัด แล้วแบคทีเรียก็เข้าเกาะอาศัยกินครีบและหางให้แหว่งมากขึ้น วิธีบำบัดถ้าท่านสังเกตเห็นปลาเกิดอาการเช่นนี้ให้รีบทำความสะอาดตู้ปลาโดยการเปลี่ยนน้ำเสียโดยเร็ว การใช้ยาอาจช่วยให้ครีบและหางที่แหว่งเป็นปกติได้บ้าง แต่การทำความสะอาดตู้เป็นวิธีที่ดีที่สุด

โรคพยาธิเจาะไช (Gill fiukes and skin flukes)

ถ้าท่านเห็นปลาแถกเหงือกออก หรือเที่ยวเอาเหงือกและตัวถูตามหินหรือต้นไม้น้ำ ให้พึงเข้าใจว่าลากำลังมีพยาธิตัวเล็กๆเจาไช ถ้าเป็นกับเหงือกเรียกว่า Gill fiukes เกิดจากพยาธิตัวแบนเรียกว่า Dactylogyrus เข้าอาศัยเหงือกและเจาะไชทำให้เกิดอาการคัน ถ้าเป็นกับผิวหนังเกิดจากพยาธิจำพวกคล้ายกันเรียกว่า Gyrodactylus ทำให้เกิดอาการคันและสีจาง กำลังของปลาก็อ่อนลง วิธีถ่ายพยาธิออกจากปลาที่เป็นโรคนี้อาจทำได้โดยให้ปลาลงอาบน้ำยาเมทิลีนบลู(methylene blue) ฟอร์มาลีน (Formalin) หรือคริฟลาวิน (acriflavine) แต่ถ้าใช้น้ำยาฟอร์มาลนต้องทำด้วยความระมัดระวังที่สุด เพราะฟอร์มาลินเป็นยาพิษ ต่อไปนี้คือส่วนผสมของน้ำยาแต่ละชนิด

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น